ชนิดของกระดาษ

ka

KA - กระดาษคราฟท์สีเหลืองทองสำหรับทำผิวกล่อง มีความแข็งแรงทนทานเป็นพิเศษ สามารถรองรับน้ำหนักได้ดีเยี่ยม และเป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ เหมาะสำหรับ สินค้าอะไหล่ยนต์ อาหารกระป๋องกล่องเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการความมั่นใจในเรื่องความแข็งแรง
ทุกรูปแบบ ทั้งการเรียงซ้อน และ การป้องกันการกระแทก
น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185, 230 กรัม/ตารางเมตร

ki

KI - กระดาษคราฟท์สีน้ำตาลอ่อนสำหรับทำผิวกล่อง สีอ่อนสบายตา เหมาะกับงานพิมพ์ภาพหรือตัวหนังสือให้มีสีสวยงามด้านการพิมพ์เป็นรอง
เพียงกระดาษ KS เท่านั้น นิยมใช้กับสินค้าที่ไม่ต้องการความแข็งแรงมากเท่า KA เหมาะกับกล่องสินค้าทั่วไป เช่น กล่องอาหารสำเร็จรูป กล่องเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีการพิมพ์เป็นภาพสี เป็นต้น
น้ำหนักมาตราฐาน : 125, 150, 185 กรัม/ตารางเมตร

kl

KL - กระดาษสีเหลืองทองเข้ม ไม่มีการย้อมสีดูเป็นธรรมชาติ
ป็นสีที่นิยมใช้กันมากในประเทศ มีความแข็งแรงและปกป้องสินค้าเป็นอย่างดี

ca

CA - กระดาษคราฟท์สำหรับทำลอนลูกฟูก มีคุณสมบัติความแข็งแรงในการป้องกันแรงกระแทกสำหรับทำลอนลูกฟูกขนาดต่างๆ
ได้ทุกลอนให้ได้คุณภาพสูง ความแข็งแรงสัมพันธ์กับน้ำหนักมาตราฐานของกระดาษ นอกจากนี้ กระดาษ ยังนิยมนำมาใช้ทำเป็นกระดาษทำผิวกล่องด้านหลังเพื่อลดต้นทุนอีกด้วย
น้ำหนักมาตราฐาน : 105, 125 กรัม/ตารางเมตร

m

M - สีน้ำตาลอ่อน เหมาะกับสินค้าที่ต้องการลดต้นทุนเพราะราคาถูก กระดาษลูกฟูก M เหมาะสำหรับทำลอนลูกฟูกและสามารถใช้ทำเป็นกระดาษทำกล่องด้านใน

 

แผ่นกระดาษลูกฟูก ประกอบด้วยสองส่วนประกอบหลัก ดังนี้

กระดาษแผ่นเรียบ ( Liner Board ) - คือ กระดาษแผ่นเรียบที่ติดอยู่กับลอนลูกฟูก
ลอนลูกฟูก ( Corrugated Medium ) - คือ ส่วนของกระดาษที่มีลักษณะเป็นคลื่น และอยู่ติดกับแผ่น Liner board
ชนิดของกระดาษคราฟท์
กระดาษคราฟท์ที่เรานำมาทำแผ่นกระดาษลูกฟูก มีหลายประเภท หลากสีสัน และคุณภาพการนำไปใช้งานก็แตกต่างกัน โดยหลักๆเกรดกระดาษที่ใช้ มีดังต่อไปนี้

ชนิดของลอนลูกฟูก

เราทุกคนต่างทราบกันดีว่า ถ้าเส้นโค้งนำมาปรับให้เหมาะสม จะเป็นการทำให้พื้นที่ที่ต้องการทอดข้าม เกิดความแข็งแรงมากที่สุด ดังนั้นผู้ผลิต กระดาษลูกฟูกจึงนำหลักการเดียวกันนี้ เข้ามาใช้ในการผลิตความโค้งของลอนกระดาษลูกฟูก โดยเราเรียกเส้นโค้ง ของกระดาษนี้ว่า "ลอนลูกฟูก" และเมื่อ นำลอนนี้มาติดกับแผ่นกระดาษเรียบ (Linerboard) พวกมันจะสามารถทนทานต่อความโค้งงอ และ แรงกดได้จากทุกทิศทาง
ลอนลูกฟูกมีหลายชนิด โดยลอนแต่ละประเภทจะมีขนาดและความสูงของลอนไม่เท่ากัน รวมถึงความเหมาะสมกับการใช้งานก็แตกต่างกันด้วย ตารางด้านล่างจะเป็นการนำลอนแต่ละชนิดมาเปรียบเทียบ เพื่อทำความเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

ชนิดลอน จำนวนลอนต่อความยาว ความสูงลอน การใช้งาน

ลอน B ความสูงของลอนอยู่ที่ 2.1-3.0 มม.
เป็นลอนซึ่งมีความหนาเล็กลงมาจากลอน C ลอนประเภทนี้จะทำให้กล่องมีความแข็ง
แต่การดูดซึมซับแรงกระแทกจะสู้ลอน C ไม่ได้

ลอน C ความสูงของลอนอยู่ที่ 3.2-3.9 มม.
เหมาะสำหรับใช้กับกล่องซึ่งต้องรับแรงกระแทกสูง ใช้ในการขนย้าย

ลอน E ความสูงของลอนอยู่ที่ 1.0-1.8 มม.
เหมาะสำหรับใช้กับการทำกล่องขนาดเล็ก และกล่องพิมพ์สี ซึ่งเป็นกล่องสำหรับใช้บรรจุสินค้าประเภทเน้นความสวยงามของกล่อง เช่นกล่องของเล่นสำหรับเด็ก กล่องจำพวกใส่เครื่องใช้ไฟฟ้า ฯลฯ เป็นต้น

ชนิดของแผ่นกระดาษลูกฟูก

โดยทั่วไปแล้ว เราจะแบ่งกระดาษลูกฟูกเป็น 3 ชนิด ตามจำนวนชั้นของกระดาษ

1. Single Face (กระดาษลูกฟูกสองชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่อง offset
ลอนมาตรฐาน : B, C, E

2. Single wall (กระดาษลูกฟูกสามชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น มักใช้กับสินค้าที่มีน้ำหนักปานกลาง หรือ ไม่เน้นความแข็งแรงมาก
ลอนมาตรฐาน : B, C, E

3. Double wall (กระดาษลูกฟูกห้าชั้น)
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอกจะเป็นลอน B เพื่อประโยชน์ทางการพิมพ์ และ กระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ด้านในจะเป็นลอน C เพื่อประโยชน์ทางด้านรับแรงกระแทก นิยมใช้สำหรับสินค้าที่ต้องการการป้องกันสูง หรือมีน้ำหนักมาก
ลอนมาตรฐาน : BC (ลอนB จะอยู่ด้านนอก ส่วนลอนC จะอยู่ด้านใน)